Overseas Promotion of Japanese Technology

Seminar on Japanese Construction Technology in Thailand 2025

ศูนย์เทคโนโลยีก่อสร้างทันสมัยแห่งประเทศญี่ปุ่น (ACTEC) ได้รวบรวมเทคโนโลยีก่อสร้างที่ทันสมัย และมีประโยชน์ของประเทศญี่ปุ่น เพื่อแผยแพร่ และนำเสนอ รวมถึงเป็นตัวกลางในการเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริมเทคโนโลยีอันมีประโยชน์นี้ไปสู่สากล (กิจกรรมที่ผ่านมา)
งานสัมมนาวิชาการครั้งที่ 4 ประจำปี 2568 มีรายละเอียดดังนี้

ชื่องาน Seminar on Japanese Construction Technology in Thailand 2025
ผู้จัด ศูนย์เทคโนโลยีก่อสร้างทันสมัยแห่งประเทศญี่ปุ่น (ACTEC)
ผู้สนับสนุน สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (MLIT)
องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA)
องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO)
หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JCC)
กำหนดการ วันพุธที่ 30 กรกฎาคม 2568และวันพฤหัสบดี 31 กรกฎาคม 2568
เวลา 10:00~16:30น.
สถานที่ สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย 周辺地図

สำหรับผู้ประสงค์เข้าร่วมงาน (ไม่มีค่าใช้จ่าย)



หมายเหตุ:

*เมื่อท่านได้ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วจะได้รับเอกสารยืนยันการเข้าร่วมงานทางอีเมลที่ได้ลงทะเบียนไว้ โปรดนำ เอกสารดังกล่าว และนามบัตรของท่าน มาแสดงที่หน้างานด้วย (สามารถใช้เป็นเอกสาร หรือรูปถ่ายจากมือถือก็ได้)

*กรุณานำบัตรประจำตัวประชาชน(หรือสำเนาพาสปอร์ต)มาแสดงที่ทางเข้าของสถานทูตญี่ปุ่นเพื่อเข้าสถานที่

*เนื่องจากไม่มีที่จอดรถ ขอความร่วมมือให้ท่านเดินทางโดยใช้ขนส่งสาธารณะ


หัวข้อเทคโนโลยีที่จะนำเสนอในงานสัมมนา

หัวข้อที่นำเสนอมีดังนี้ (ลำดับการนำเสนออาจมีการเปลี่ยนแปลงได้)
รายละเอียด และกำหนดการภายในงานจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งทางเว็ปไซต์

หัวข้อหลักที่นำเสนอ:  1.การปรับปรุงดิน 2.การป้องกันอุทกภัย 3.การซ่อมบำรุง
วันพุธที่ 30 กรกฎาคม 2568

ชื่อเทคโนโลยี: Honshu-Shikoku Bridge Expressway Company Limited

ผู้บรรยาย: Bridge Inspection Support Tool Utilizing BIM and MR Technology

คำอธิบาย: เทคโนโลยีการตรวจสอบสภาพสะพานอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยี MR กับ BIM Modelฉายภาพผ่านทางแทปเล็ต
มีระบบปรับตำแหน่งอัตโนมัติแม้ผู้ใช้จะเคลื่อนไหวอยู่ก็ตาม และสามารถบันทึกจุดผ่านทางหน้าจอเพื่อตรวจสอบความเสียหาย และติดตามการเปลี่ยนแปลงได้
ด้วยการใช้ BIM Modelร่วมกับการMaintenanceเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรายงานและเก็บบันทึกภาพให้ดียิ่งขึ้น

หัวข้อหลักที่นำเสนอ: 3.

ชื่อเทคโนโลยี: Shutoko Technology Center

ผู้บรรยาย: Smart Infrastructure Management System

คำอธิบาย: "i-DREAMs" ถูกพัฒนาขึ้นเป็นระบบการบริหารจัดการสาธารณูปโภค เพื่อการบำรุงรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถทำให้รับมือกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ระบบนี้ได้ประยุกต์ใช้กับข้อมูลของGIS (ระบบข้อมูลภูมิศาสตร์) ด้วยข้อมูลที่มีความแม่นยำสูง จึงทำให้การบำรุงรักษาอย่างยั่งยืนสามารถทำได้จริง

หัวข้อหลักที่นำเสนอ: 3.

ชื่อเทคโนโลยี: CHODAI CO.,LTD

ผู้บรรยาย: Stay Cables Inspection Robot "VESPINAE"

คำอธิบาย: เทคโนโลยีการตรวจสอบสายเคเบิ้ลสะพานโดยใช้กล้องวิดีโอ4เครื่องติดกับเครื่องมือเคลื่อนที่ไปแบบใบพัดทำให้ได้รูปภาพและข้อมูลที่แม่นยำ รวดเร็ว และปลอดภัย

หัวข้อหลักที่นำเสนอ: 3.

ชื่อเทคโนโลยี: TAIYO TORYO CO., LTD.

ผู้บรรยาย: BufferCoat

คำอธิบาย: การเคลือบกันน้ำและสนิมด้วยวัสดุซิลิโคน
100%

หัวข้อหลักที่นำเสนอ: 3.

ชื่อเทคโนโลยี: Taisei Corporation

ผู้บรรยาย: Image Analysis for Concrete Crack t.WAVE

คำอธิบาย: เทคโนโลยีการใช้AI ตรวจจับรอยแตกร้าวในภาพที่ถ่ายโดยอัตโนมัติ จากนั้นทำการแปลงเวฟเล็ตบนภาพเพื่อประเมินและคำนวณความกว้างและความยาวของรอยแตกร้าว
การใช้ AI ทำให้สามารถตรวจจับรอยแตกร้าวจากภาพที่ถ่ายด้วยกล้องดิจิทัลที่ติดตั้งบนโดรน หรือกล้อง SLR ดิจิทัลที่ยึดบนขาตั้งกล้องได้โดยอัตโนมัติและแม่นยำ
เทคโนโลยีการประเมินเชิงปริมาณสำหรับความกว้างและความยาวของรอยแตกร้าวโดยใช้การแปลงเวฟเล็ต
การแปลงเวฟเล็ตเป็นเทคนิคการวิเคราะห์ภาพที่เหมาะสำหรับการประเมินคุณลักษณะเชิงเส้นภายในภาพ และ t.WAVE สามารถคำนวณความกว้างและความยาวของรอยแตกร้าวสำหรับแต่ละพิกเซลในภาพที่จับได้

หัวข้อหลักที่นำเสนอ: 3.

ชื่อเทคโนโลยี: Eight-Japan Engineering Consultants Inc.

ผู้บรรยาย: 360EDITOR inMap (Development of a Digital System for Structural Data Management and Mapping)

คำอธิบาย: "inMap" คือระบบการจัดการที่เชื่อมโยงโฟลเดอร์ข้อมูลของสิ่งปลูกสร้างแต่ละหลังลงบนแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้การจัดระเบียบและจัดการเอกสารที่เพิ่มขึ้นทุกปีเป็นเรื่องง่ายขึ้น
"360EDITOR" คือระบบการจัดการเอกสารและการนำเสนอที่ให้คุณสามารถแนบข้อมูลต่าง ๆ ไปกับภาพถ่ายหลายทิศทาง สามารถสร้างแบบจำลองได้ในเวลาอันสั้น และสามารถรักษาปริมาณข้อมูลให้มีขนาดเล็กได้
ด้วยการรวม "360EDITOR Viewer Edition" เข้ากับ "inMap" คุณสามารถดูข้อมูลโครงสร้างบนแผนที่ได้ รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดแบบ 360 องศา เช่นเดียวกับ Street View ทำให้สามารถจัดการสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อหลักที่นำเสนอ: 2.

วันพฤหัสบดี 31 กรกฎาคม 2568

ชื่อเทคโนโลยี: CHICHIBU CHEMICAL CO., LTD.

ผู้บรรยาย: Plastic Rainwater Storage Structure
[ New Pla-kun and New Trench-kun ] etc.

คำอธิบาย: การวางโครงสร้างคล้ายถังเก็บน้ำแบบพลาสติกใต้ดิน เมื่อฝนตกลงมาจะซึมลงสู่ถังด้านล่าง และระบายออกเป็นการป้องกันความเสียหายที่เกิดจากน้ำขังหรือน้ำท่วม
NewPla-kun คือโครงสร้างที่เหมือนถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ และ NewTrench-kun เป็นโครงสร้างที่เหมือนกับรางน้ำข้างอาคารหรือเส้นทางระบายน้ำ

หัวข้อหลักที่นำเสนอ: 2.

ชื่อเทคโนโลยี: HINODE,Ltd

ผู้บรรยาย: Ductile Iron Grating

คำอธิบาย: ตะแกรงเหล็กหล่อเหนียวที่มีความแข็งแรงทนทานสูง
ตัวฝาครอบและตะแกรงขึ้นรูปเป็นชิ้นเดียวกันแบบไร้รอยต่อจึงทำให้มีความแข็งแรงมากกว่าตะแกรงทั่วไปถึง 2เท่า
โครงสร้างยื่นออกมาบนพื้นผิวช่วยป้องกันล้อลื่นไถล และออกแบบมาเพื่อทำให้ปรับระดับพื้นผิวถนนได้ง่าย และลดการเกิดการพื้นต่างระดับแม้ติดตั้งบนทางลาดชัน

หัวข้อหลักที่นำเสนอ: 2.

ชื่อเทคโนโลยี: AsunaroAoki

ผู้บรรยาย: Dredging method using radio remote controlled amphibious bulldozer Model D155W-1

คำอธิบาย: รถขุดสะเทินน้ำสะเทินบกเป็นเครื่องจักรที่ใช้สำหรับการก่อสร้างใต้น้ำ ที่ควบคุมจากระยะไกลซึ่งมีพื้นที่ทำงานในน้ำได้ลึกถึง 7 เมตร
เทคโนโลยีนี้ได้ทำการก่อสร้างมามากกว่า 1,200 โครงการตามแนวแม่น้ำ ชายฝั่ง เขื่อน ฯลฯ โดยมุ่งเน้นงานขุดลอกท่าเรือและแม่น้ำเพื่อป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ
อีกทั้งยังใช้ในงานฟื้นฟูภัยพิบัติในพื้นที่เสี่ยงอันตราย (การก่อสร้างไร้คนขับ) อีกด้วย
ปัจจุบันบริษัทของเราและKomatsuกำลังร่วมกันพัฒนา "หุ่นยนต์ก่อสร้างใต้น้ำ" ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าและควบคุมอัตโนมัติรุ่นต่อไป
และในงาน Osaka-Kansai Expo บริษัทจะจัดแสดงเรื่อง "อนาคตงานก่อสร้างใต้น้ำ" ร่วมกับ Komatsu

หัวข้อหลักที่นำเสนอ: 2.

ชื่อเทคโนโลยี: Nippon Koei Co., Ltd.

ผู้บรรยาย: Flood Forecast and Comprehensive Disaster Assessment

คำอธิบาย: การทดสอบการสังเกตการณ์ปริมาณน้ำฝนที่มีความแม่นยำสูงที่เขื่อนป่าสักชลสิทธ์ ซึ่งบริหารจัดการโดยกรมชลประทาน ประเทศไทย โดยใช้เรดาร์ XbandMP ที่ผลิตในญี่ปุ่น และนำผลลัพธ์ไปใช้ในการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำของเขื่อน
นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในญี่ปุ่นซึ่งใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อทำความเข้าใจขอบเขตโดยรวมของความเสียหายที่เกิดจากภัยพิบัติ
โดยการใช้ดาวเทียมหลายดวงทั้งในประเทศและต่างประเทศในการสังเกตการณ์ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ร่วมกับการแสดงข้อมูลคาดการณ์ภัยพิบัติไว้ในที่เดียวกัน ทำให้สามารถคาดการณ์ขอบเขตความเสียหายได้อย่างรวดเร็ว

หัวข้อหลักที่นำเสนอ: 2.

ชื่อเทคโนโลยี: SANSHIN CORPORATION
SANSHIN CONSTRUCTION (THAILAND) CO., LTD.

ผู้บรรยาย: Rapidjet Method

คำอธิบาย: Rapidjet คือวิธีการฉีดอัดฉีดแบบเจ็ทเป็นวิธีการปรับปรุงพื้นดินที่ได้รับการพัฒนาในญี่ปุ่น โดยการกวนและผสมพื้นดินด้วยการฉีดปูนซีเมนต์แรงดันสูงรวมกับอากาศเข้าไปในพื้นดิน ทำให้ได้พื้นที่ปรับปรุงแล้วมีคุณภาพสูง เนื่องจากวิธีนี้สามารถดำเนินการได้โดยใช้อุปกรณ์ขนาดเล็ก จึงถือเป็นวิธีการก่อสร้างที่จำเป็นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตเมือง
วิธีRapid Jetเป็นวิธีการอัดฉีดด้วยเจ็ทที่ได้รับการปรับให้เหมาะสมสำหรับสภาพพื้นดินและอุปกรณ์ในต่างประเทศ และช่วยให้สามารถปรับปรุงคุณภาพดินที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่ใหญ่ขึ้นด้วยความเร็วที่สูงกว่าเทคโนโลยีทั่วไปได้

หัวข้อหลักที่นำเสนอ: 1.

ชื่อเทคโนโลยี: Eco Project Inc.

ผู้บรรยาย: Eco-Friendly Solidifier "Doronko"

คำอธิบาย: "Doronko" เป็นอนินทรีย์วัตถุมีสถานะเป็นของแข็ง เป็นวัตถุดิบในการปรับปรุงหน้าดินที่ไม่เป็นอันตรายต่อดิน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย เป็นส่วนผสมที่ใช้ในงานวิศวกรรมโยธา และการเกษตร เช่น พื้นที่เกษตรกรรม หรือโครงการก่อสร้างอื่นๆ ที่ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของน้ำใต้ดินและดิน รวมถึงในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากฝนตกหนักและน้ำท่วม

หัวข้อหลักที่นำเสนอ: 1.

ชื่อเทคโนโลยี: ASHIMORI INDUSTRY Co.,LTD.
TOKUYAMA Mtec Corp.

ผู้บรรยาย: LFR method

คำอธิบาย: วิธีพาเลสชีทเป็นเทคโนโลยีในการปรับปรุงดินอ่อน ซึ่งได้มีการทดลองใช้จริงที่หาดบางแสนในปี 2022เพื่อป้องการการกัดเซาะชายฝั่ง อีกทั้งในประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้กันในงานฐานรากของอาคาร ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีแนวคิดมาจากการเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้งในญี่ปุ่น

หัวข้อหลักที่นำเสนอ: 1.


สอบถามเพิ่มเติม

ศูนย์เทคโนโลยีก่อสร้างทันสมัยแห่งประเทศญี่ปุ่น(ACTEC) : ผู้ประสานงาน คุณสมเกียรติ์ ตั้งอุดมผล
โทร: +66(9)5958-5246
อีเมล: seminar@actec.or.jp